หัวข้อ: IELTS คืออะไร ??? เริ่มหัวข้อโดย: นายไอเอิล ที่ มิถุนายน 09, 2009, 11:03:43 PM IELTS เป็นอีกปัญหาของหลาย ๆ คนที่อยากมาเรียนต่อ วันนี้มาทำความรู้จักกับมันกันดีกว่า
ทั่วไป -ไอเอลแบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง 45 นาที -ไอ เอลมีให้เลือกแบบ academic(สำหรับคนที่จะเรียนต่อ ทุกระดับการศึกษา) และ general(ง่ายกว่าส่วน reading และ writing...ใช้สำหรับสมัครงาน และขอวีซ่าบางประเภท) -ข้อสอบไอเอลที่สอบในวันเดียวกันทั่วโลกเป็นชุดเดียวกัน (เพราะฉะนั้นไม่ต้องคาดหวังว่าที่ไทยจะง่ายกว่า) -ตัวแทนไอเอลที่ไทยมีแค่ IDP และ British เท่านั้น -สำหรับ part writing and speaking ไม่มีคะแนนเป็น 0.5 (ไอเอลคะแนนเต็ม 9) -คะแนนจะออกหลังจากการสอบสองอาทิตย์ -ตามกฎใหม่แล้ว สามารถสมัครสอบได้เลยไม่ต้องรอสามเดือน มาทำความรู้จัก 4 Parts กัน Listening -ใช้เวลาฟังประมาณ 20 นาที เขียนลงกระดาษคำตอบอีก 10 นาที -พาร์ทนี้แบ่งเป็น 4 พาร์ทย่อย รวม 40 ข้อ -จะเริ่มจากง่ายไปหายาก -พา ร์ท แรกจะเป็นเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน หรือการติดต่อแบบง่าย ๆ (ส่วนใหญ่เป็นจองทัวร์ไปเที่ยว, ย้ายบ้านใหม่, การนัดหมาย...เป็นบทสนทนาระหว่างคนสองคนขึ้นไป...การตอบส่วนใหญ่จะเป็นชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่ หรือศัพท์พื้นฐานไม่ยาก...แต่ส่วนใหญ่เป็นแบบเติมคำ) -พาร์ทที่สอง จะเป็นคนเดียวพูด อาจเกี่ยวกับข่าว,เหตุการณ์ต่าง ๆ,ประสบการณ์ชีวิต ฯลฯ (ส่วนนี้อาจมีทั้งเติมคำและตัวเลือกผสมกัน) -พา ร์ทที่สาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน ฝึกงาน ฯลฯ (จะเป็นการสนทนาของบุคคลมากกว่าสองคน อาจมากถึงสี่คน) เช่น พูดถึงการทำรายงาน,การหางานหลังเรียนจบ -พาร์ทสุดท้าย ยังคงเป็นแนววิชาการ ส่วนใหญ่จะเป็นคนพูดคนเดียวเกี่ยวกับเนื้อหาทางวิชาการที่ไม่ยากนัก (ส่วนใหญ่คำตอบเป็นตัวเลือก) เคล็บลับในส่วนนี้ - ดูแลเรื่องตัวใหญ่ เวลาเป็นชื่อคน ชื่อเมือง - ถ้าเทปสะกดให้ต้องถูกต้องตามนั้น (ถ้าพูดลอย ๆ สะกดผิดยังคงได้คะแนน ถ้าอ่านออกมาเป็นตามเทปพูด) - วิธีฝึกคือฟังข่าว,ดูหนัง(ปิดซับ),ฟังเพลง ภาษาอังกฤษ แล้วเขียนตาม - ฟังเสียงจากตัวอย่างข้อสอบเก่าบ่อย ๆ ให้ชิน โดยเฉพาะสองพาร์ทหลัง พยายามเก็บรายละเอียดให้ได้ว่าเขาพูดเรื่องอะไร - ระหว่างทำข้อสอบ...จำใจความอะไรได้ เขียนลงกระดาษคำถามไว้เรื่อย ๆ กันเหม่อลอย แล้วจะหลุดยาวไปเลย Reading - แบ่งออกเป็น 3 ส่วน รวมทั้งหมด 40 คำถาม ใช้เวลาประมาณ 60 นาที - จะเริ่มจากง่ายไปยากเช่นเดียวกับ listening - ทั้งสามเรื่องจะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่เอามาจากบทความวิชาการ(ง่าย ๆ), หนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร - ในสามเรื่อง อาจมีเรื่องที่ใส่กราฟ หรือรูปภาพ ประกอบบทความ ในส่วนที่บทความใช้ศัพท์เฉพาะที่ยากมาก ๆ - พาร์ทนี้ต้องทำไปตอบไป เพราะไม่มีเวลาเพิ่มให้เหมือน listening เคล็ดลับในส่วนนี้ - เริ่มจากอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ (วันละหัวข้อก็ยังดี) - ดูหนังปิดเสียง อ่านศัพท์เอาแทน (เพื่อเรียนรู้ศัพท์ให้มาก ๆ) - อ่านบทความภาษาอังกฤษมาก ๆ (อ่านผ่าน ๆ แล้วจับใจความก็พอ) - จดศัพท์ใหม่ ๆ ทุกครั้งที่เจอ (การรู้ศัพท์มาก ๆ จะช่วยได้มาก ในพาร์ทนี้) - เวลาทำข้อสอบ อย่าพยายามอ่านให้เข้าใจทุกประโยค - ให้เริ่มจากอ่านคำถามก่อน แล้ววงไว้ว่า ต้องหาอะไรให้เจอบ้าง จากนั้นจึงไปหาคำตอบในเนื้อเรื่อง (ไม่งั้นไม่มีทางอ่านทัน) Writing - มีเวลาเขียนสองพาร์ทรวม 60 นาที - ส่วนแรก 150 คำ(ต้องบังคับตัวเองให้ใช้เวลาส่วนนี้ 20 นาที) แล้วอีก 40 นาทีที่เหลือ กับ 250 คำของส่วนหลัง - ส่วนแรกจะเป็นให้อธิบายกราฟ,ตาราง ฯลฯ ให้เขียนในรูปแบบรายงาน มีการเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง เขียนถึงตัวเลขที่มากที่สุด และน้อยที่สุด เวลาเริ่มต้น ให้เขียนว่า เป็นกราฟเกี่ยวกับอะไร ช่วงระหว่างปีอะไร มีแกน x,y ประกอบด้วยอะไรบ้าง และข้อมูลมาจากหน่วยงานไหน ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด ส่วนตอนสรุป ก็ให้เขียนว่าจุดเด่นที่แตกต่างของภาพคืออะไร ("อย่า"ใส่ความคิดคาดคะเนไปองว่ากราฟอาจเป็น บลา บลา บลา ในอนาคต)...หรือ... - อาจจะเป็นการอธิบายอธิบายการทำงานของวงจรอะไรซักอย่าง...ถ้าได้แบบนี้ ให้เขียนเรียงเป็น step 1,2,3... โดยขึ้นต้นว่า มันคือการทำงานของอะไร มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง ก่อนจะเริ่มบอกรายละเอียด - สำหรับ task 2 จะเป็นการเขียนรายงานอย่างง่าย 250 คำ เนื้อหาจะเกี่ยวกับหัวข้อทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบการศึกษา, สิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จะเป็นการให้แสดงความคิดเห็น หรือเปรียบเทียบระหว่างสองข้อมูลที่โจทย์ให้ เช่น ระบบการเรียนที่รร. กับการเรียนทางไกล เป็นต้น - ทั้งสองพาร์ทในส่วน writing จะต้องถูกเขียนแบบภาษาวิชาการ มีรูปแบบที่ถูกต้อง เคล็ดลับในส่วนนี้ - ส่วนกราฟ...อย่าพยายามเขียนถึงทุกอย่างในกราฟ...แบ่งออกเป็นสามส่วนง่าย ๆ...Intro ประมาณ 30 คำ เขียนว่าเป็นกราฟเกี่ยวกับอะไร (ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกราฟ)...เนื้อหา เขียนเปรียบเทียบ และจุดเด่นจุดด้อย (ประมาณ 100 คำ)...สรุป เน้นจุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอีกครั้ง (ประมณ 30 คำ) - ส่วนที่สอง...เขียนไอเดียคร่าว ๆ ไว้ก่อนว่าจะเขียนอะไรบ้าง (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที) ถ้าต้องเปรียบเทียบเรื่องอะไร 2 เรื่อง พยายามให้ความสำคัญทั้งสองส่วนพอ ๆ กัน บอกทั้งข้อดีและข้อเสียของทั้งสองอย่าง...intro ประมาณ 50 คำ เขียนกว้าง ๆ ว่าหัวข้อที่ได้สำคัญยังไง...เช่นตามหัวข้อตย. ก็เขียนว่าปัจจุบัน ระบบการเรียนทางไกลเริ่มใช้แพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศ บลา ๆ ๆ ๆ...ในส่วนเนื้อหา อาจแบ่งเป็นสองย่อหน้าอีกครั้ง...อาจเขียนได้เป็น ข้อดีของทั้งสองระบบ...กับข้อเสียของทั้งสองระบบ หรือ เขียนถึงระบบแรกหนึ่งย่อหน้า...ระบบที่สองในอีกย่อหน้า (แ้ล้วแต่ความถนัด)...ส่วนสรุป บอกตามความคิดเห็นของเราไปเลย ว่าคิดว่าระบบไหนดีกว่า เพราะอะไร...หรือไม่มีอะไรดีกว่ากัน เพราะอะไร (ต้องให้เหตุผลด้วยเสมอ) - ฝึกเขียนทุกวัน (หรือบ่อยเท่าที่ทำได้) ส่วนกราฟ อาจท่องจำรูปแบบคร่าว ๆ ไปได้เลย - ส่วนพาร์ทสอง ฝึกเขียนในหัวข้อต่าง ๆ กัน เพราะปัญหาของหลาย ๆ คน คือไม่รู้จะเขียนอะไรดี (เวลาฝึกอ่าน ลองเอาหัวข้อเหล่านั้นมาเขียนใความคิดตัวเองดูก็ได้) - ต้องหาคนตรวจให้ (อันนี้สำคัญ...ยากที่จะทำเองได้) เมื่อมีคนแก้ให้ เอามาเขียนใหม่อีกครั้ง(อย่าขี้เกียจ) เพื่อให้สมองจำในแบบที่ถูกต้อง - ถ้าไม่มั่นใจ อย่าพยายามใช้ศัพท์เฉพาะ (เพราะถ้ามันไปอยู่ผิดที่ ผิดวิธีใช้จะทำให้คะแนนลดลง) - อย่าเขียนประโยคเดียวสั้น ๆ ทั้งเรื่อง ให้เขียนประโยคยาว ๆ โดยใช้ตัวเชื่อมต่าง ๆ ให้เป็น Speaking -ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที แบ่งออกเป็นสามส่วน - ส่วนแรก เป็นการสนทนาทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับครอบครัว การเรียน การทำงาน ฯลฯ (ประมาณ 5 นาที) - ส่วนที่สอง จะมีหัวข้อมาให้...ให้เวลาเตรียมตัว 1 นาที และให้พูดตามหัวข้อนั้นประมาณ 2 นาที (ไม่ต้องกลัวว่าถ้าพูดเกินจะถูกหักคะแนน...คนสัมภาษณ์จะบอกเองว่า พอก่อน) อย่าพยายามพูดน้อยกว่า 1 นาทีครึ่ง (อันนี้อาจถูกหักคะแนนได้) - ส่วนสุดท้าย เป็นการพูดรายละเอียด เกี่ยวกับหัวข้อที่เราเพิ่งพูดจบไป เพื่อให้เราได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ - คะแนนในส่วนนี้มาจาก Fluency, Grammatical, Pronunciation,Lexical resource เคล็ดลับในส่วนนี้ - พยายามพูดกับตัวเอง หรือคนรอบข้างเป็นภาษาอังกฤษ (จะทำให้ระบบสมองคล่องขึ้น ไม่ต้องเสียเวลานึก) - ลองพูดตาม topic ต่าง ๆ (หาตัวอย่างได้ตามเว็บไอเอลทั่วไป)แล้วเอาเรื่องของเราไปประยุกต์ดู - เวลาสอบให้ทำตัวตามสบาย อย่าเกร็ง พูดให้เป็นธรรมชาติ (คิดซะว่าเม้าท์กับเพื่อนฝรั่งไม่ได้ไปสอบ) - อย่าเกร็งเรื่องแกรมม่ามาก คะแนนสำคัญมาจากการสื่อสารที่รู้เรื่อง เข้าใจมากกว่า - ถ้าฟังคำถามไม่เข้าใจ ให้ถามคนสัมภาษณ์เลย อย่าพยายามตอบทั้งที่ไม่รู้ว่าเค้าทำอะไร - ถ้าฟังไม่ทันที่เขาพูด ขอให้เขาช่วยพูดช้าลงไปเลย อย่ากลัวว่าจะถูกหักคะแนน (ดีกว่าฟังไม่ทันตอบไม่ได้ไปเลย) โดยรวม - ตั้งใจอ่านคำสั่งให้ดีทุกพาร์ท - เปิดดูให้หมดว่าพาร์ทไหนมีข้อสอบกี่ข้อ ต้องตอบกี่คำถามในส่วนนั้น ๆ - ไปให้ก่อนเวลา จะได้ไม่เหนื่อย ไม่ตื่นเต้น - แบ่งเวลาในแต่ละส่วนให้ดี (โดยเฉพาะ reading and writing) อย่าเสียเวลากับใดส่วนหนึ่งมากเกินไป ข้อไหนตอบไม่ได้ วงไว้ แล้วข้ามไปก่อนเลย - พยายามเขียนให้จบท้งสองเรื่อง (มีส่วนต่อคะแนนอย่างมาก) - ที่เหลือ...สู้ตาย ;) |